หลักการทำงานเครื่องปรับอากาศ
 การทำงานของเครื่องปรับอากาศ คล้ายๆกับตู้เย็นเพียงแต่มีพัดลมเพิ่มเข้ามา พัดลมคอยล์เย็นใช้พัดเอาความเย็นจากอีแอปปอเรเตอร์ กระจายไปทั่วห้อง พัก
การทำงานแบ่งเป็น 2 ส่วน
1. ส่วนของการทำงานระบบไฟฟ้า
เมื่อยกเบรกเกอร์สวิทช์ ON และปรับสวิทช์อุณหภูมิ ไปที่ระดับอุณหภูมิที่ 1 ( สวิทช์เทอร์โมสตาร์ท ON ) จะทำให้แม๊กเนติกรีเลย์ดูดหน้าสัมผัสของสวิทช์มาแตะกัน เพราะไฟฟ้าจากขา L  ไหลขึ้นไปยังชุดคอยล์เย็น ไหลผ่านหน้าสัมผัสของสวิทช์เทอร์โมสตาร์ท ไหลผ่านสวิทช์หน่วงเวลา ไหลเข้าขดลวดของแม๊กเนติกรีเลย์ และออกไปครบรอบที่ขา N เมื่อไฟฟ้าไหลครบรอบ ทำให้หน้าสัมผัสของเนติกรีเลย์ดูดติดกัน หากที่พัเลมคอยล์เย็นเปิดไว้ที่ระดับความเร็วใด ก็จะทำให้พัดลมคอยล์เย็นหมุนทันที่เช่นกัน                                       
เมื่อหน้าสัมผัสของแม็กเนติกรีเลย์สัมผัสกัน จะทำให้ไฟฟ้าเกิดการไหล ดังนี้
1. ไฟฟ้าจากสาย L ไหลผ่านหน้าสัมผัสของแม๊กเนติกรีเลย์ไปเข้าขารัน (R) ไหลผ่านขดลวดภายในคอมเพรสเซอร์ไปครบรอบไฟที่ขาคอมมอน ( C ) ไหลออกไปครบรอบที่สาย  N
2. ในขณะที่ไฟฟ้าไหลเข้าขารัน ( R ) ไฟฟ้าอีกทางหนึ่งจะไหลผ่านเข้าชาร์ทคอมเดนเซอร์ และดิสชาร์ทผ่านขดลวดสตาร์ท ครบรอบที่ขาคอมมอน ( C ) ทำให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ออกตัวหมุน
3. เมื่อคอมเพรสเซอร์ออกตัวหมุนและหมุนแล้ว ยังมีไฟไหลผ่านไปเข้าขารัน
( R ) ของมอเตอร์พัดลมคอยล์ร้อนและไฟสาย N ไหลอีกทางหนึ่งเข้าขาคอมมอน.                                                                    
( C ) ครบรอบไฟฟ้า  โดยมีคอนเคยเซอร์ต่อเข้าขาสตาร์ท ทำให้   มอเตอร์พัดลมคอยล์ร้อน ออกตัวหมุน ซึ่งพัดลมคอยล์ร้อนจะทำงานพร้อมกับคอมเพรสเซอร์เสมอเพื่อช่วยระบายความร้อน.   ให้กับคอนเดนเซอร์ื  เมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงานก็จะเกิดการอัดน้ำยา R 22.    
ออกทางท่อส่งอย่างต่อเนื่องต่อไป.                                             
2. ส่วนของการไหลของน้ำยาทำความเย็น
เมื่อคอมเพรสเซอร์หมุนอย่างต่อเนื่องจะเกิดการอัดน้ำยาออกทางท่อส่ง ผ่านไดเออร์ฟีสเตอร์ ทำหน้าที่กรองเศษผงและความชื้อ น้ำยาไหลผ่านคอนเดนเซอร์ ไหลผ่านท่อลวดแค๊ปทิ้ง ขณะที่น้ำยาที่ไหลมาถึง ท่อแค๊ปทิ้ว ซึ่งเป็นของเหลว เมื่อไหลผ่านท่อเล็กๆ จะกชลายเป็นก๊าซ ฉีดเข้าไปในอีแวปปอเรเตอร์ หรือขดท่อคอยล์เย็นก๊าซจะดักจับความร้อนที่อยู่รอบๆ ขดท่อคอยล์เย็น เมื่อจับความร้อนแล้ว จะไหลออกไปทางท่อดูดกลับ ความร้อนจะถูกพามากับน้ำยา ซึ่งขณะไหลกลับน้ำยาจากสถาพก๊าซ จะกลายเป็นของเหลว ไหลเข้าคอมเพรสเซอร์ และถูกอัดส่งออกไปอีก ทางท่อส่ง ถ้าน้ำยายังมีความร้อน จะถูกระบายความร้อนออกทางขดท่อคอยล์ร้อน โดยพัดลมดูดความร้อนจากแผงคอมล์ร้อน ช่วยระบายความร้อนได้ดีขึ้น
ทำให้ห้องปรับอากาศเย็น เพิ่งขึ้นเรื่อยๆ การอัดน้ำยาจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
   เมื่อความเย็น ภายในห้องปรับอากาศเย็นถึงจุดตัดของสวิทช์เทอร์โมสตาร์ทซึ่งมีหางเทสอุณหภูมิ ที่มีสักษณะคล้ายหางหนู หน้าสัมผัสสวิทช์เทอร์โมสตาร์ทจะจากออก ทำให้ไฟฟ้าหยุดไหลผ่านขดลวดแม๊กเนติกรีเลย์ ทำให้หน้าสัมผัสของสวิทช์แม๊กเนติกรีเลย์ จากออก ไฟหยุดไหลเข้าคอมเพรสเซอร์ คอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน น้ำยาไม่ถูกอัด ทำให้ความเย็นภายในห้องปรับอากาศ  มีอุณหภูมิสูงขึ้นหรือความเย็นน้อยลง ทำให้หน้าสัมผัสของสวิทช์เทอร์โมสตาร์ท มาแตะกันเหมือนเดิม เกิดการไหลของกระแส การทำงานจะเริ่มต้นใหม่โดยย้อนกลับไปอ่านข้อความเดิม. ( ย้อนกลับไปอ่าน ข้อ 1สวิทช์เทอร์สตาร์ท ON และ ข้อ 2 )
      
อาการเสียของเครื่องปรับอากาศ
1. อาการแอร์ไม่ทำงาน. ไฟไม่เข้า.   เงียบ.                              
  1.1 เช็คไฟฟ้ามีเข้าเบรกเดอร์สวิทช์หรือไม่
1.2 เบรกเกอร์สวิทช์ร์ ขาดหรือไม่          
 1.3 สายไฟหลุด หลวม                          
                       
2. อาการแอร์ไม่่เย็นพัดลมคอยล์เย็น หมุนปกตื มีแต่ลมออกมา                           2.1 เช็คแม็กเนติกรีเลย์ หน้าสัมผัส สกปรก มีเศษผงเกาะ มีมดเข้าขดลวดแม็กนีติดขาด สายไฟขาด หลุม
                  2.2 เทอร์โมสตาร์ทหน้าสัมผัสสวิทช์ขาด สกปรก สายไฟคอมโทรลขาด หรือถ้าเป็นรุ่นรีโมท ระบบคอนโทรลเสีย ชุดรีโมทเสียให้ทดลองต่อตรงเพื่อนทดสอบระบบ ว่าเสียงที่ใด
                  2.3 ชุดหน่วงเวลาขาด เสีย ให้ทดลองต่อตรงโดยไม่ผ่านตัหน่วงเวลา

3. อาการแอร์ไม่เย็น พัดลมคอยล์หมุนปกติ พัดลมคอยล์ร้อนหมุนปกติ
                  3.1 คาปาซิเตอร์สตาร์ทคอมเพรสเซอร์ขาด
                  3.2 สายไฟสายคอมเพรสเซอร์ขาด
                  3.3 ขดลวดคอมเพรสเซอร์าขาด
                  3.4 โอเวอร์โหลดขาด

4. อาการแอร์ไม่เย็น พัดลมคอยล์เย็นหมุนปกติ พัดลมคอยล์ร้อนหมุนปกติคอมเพรสเซอร์ทำงานปกติ ( จับคอมเพรสเซอร์ดูมีการสั่นปกติ)
                  4.1 น้ำยาในระบบไม่มี รั่วออกหมด
                  4.2 ถ้าน้ำยามีปกติ แสดงว่าลิ้นคอมเพรสเซอร์รั่ว เสีย ต้องซ่อมคอมเพรสเซอร์ใหม่ หรือเปลื่อนคอมเพรสเซอร์ใหม่

5. อาการแอร์เย็นน้อย
                   5.1 น้ำยาขาด ต้องเดิมน้ำยาเพิ่ม
                   5.2 ลิ้นคอมเพรสเซอร์ไม่ค่อยดี เริ่มจะรั่ว ทำให้แรงอัดน้ำยาน้อย ทำให้ทำความเย็นไม่ค่อยดีต้องซ่อมคอมเพรสเซอร์ใหม่ หรือเปลื่อนใหม่
                   5.3 ถ้าทุกอย่่างปกติ เกิดจากสกปรก ผงอุดตันให้ทำความสะอาดช่องคอยล์เย็น

6. อาการคอมเพรสเซอร์ทำงานได้สักครู่แล้วตัด พัดลมคอยล์เย็นหมุนปกติ
                   6.1 เช็คหน้าสัมผัสแม็กเนติกรีเลย์ปรก ไฟฟ้าเดินไม่สดวกให้ทำความสะอาดหน้าสัมผัส
                   6.2 คาปาซิเตอร์สตาร์ทรั่ว หรือชอร์ต
                   6.3 คอมเพรสเซอร์ชอร์ตรอบ หรือขดลวดไหม้ ให้ใช้คลิปแอมป์จับสายไฟแล้วเปิดเครื่องใหม่ขณะเปิดกินกระแสสูงมาก แสดงว่าคอมเพรสเซอร์ชอร์ตรอบหรือไหม้แล้ว ต้องซ่อมหรือเปลื่อนคอมเพรสเซอร์ใหม่

7. อาการมีเสียงดังที่พัดลมคอยล์ร้อน แอร์เย็นปกติ
                   7.1 บูทพัดลบคอยล์ร้อนสึก ต้องเปลื่อนบูทใหม่หรือเปลื่อนพัดลมคอยล์ร้อนใหม่

8. อาการมีเสียงดังที่พัดลมคอยล์ร้อนมาหลายวัน แอร์เย็นปกติ อยู่ๆ แอร์ก็ดับไปเฉยๆ เปิดใหม่ทำงานได้สักครู่ แต่พัดลมคอยล์ร้อนไม่หมุ่น
                   8.1 เกิดจากบูทพัดลมติด ฝืด ทำให้กินกระแสสูงคอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน แสดงว่าขดลวดพัดลมไหม้

9. อาการพัดลมคอยล์เย็นมีเสียงดัง แอร์เย็นปกติ
                   9.1 บูทพัดลมคอยล์เย็นสึก หลวม ต้องเปลี่ยนใหม่

10. อาการที่ช่องคอยล์เย็นมีน้ำแข็งเกาะเป็นไอ ไม่มีลมออกทางคอยล์เย็น
                  10.1 พัดลมคอยล์เย็นเสีย ไม่หมุน

11. อาการเย็นจัด คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดไม่ตัด
                  11.1 เทอร์โมสตาร์ทไม่ตัด ชอร์ตตลอดเวลา
                  12.2 ถ้าใช้ระบบรีโมท ระบบรีโมทเสีย หัวเทสความเย็นขาด ทำให้เทสความเย็นไม่ได้

12. อาการน้ำหยออออกจากคอยล์เย็น
                  12.1 ท่อทิ้งน้ำอุดตัน ให้ทำความสะอาด ทางท่อทิ้งน้ำมีผงเศษผงอุดตัน

13. อาการแอร์ไม่ทำงาน เป็นแอร์ระบบรีโมท
                  13.1 เช็ครีโมทถ่านไฟหมดให้เปลื่อนใหม่



















   
















                    



เครื่องปรับอากาศ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม 24 - 26 c                                
  2. ควบคุมปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ ให้อยู่ในห้องระหว่าง 50 - 55% 

     3. ฟอกอากาศหรือกรองฝุ่นละอองในอากาศ ที่อยู่โนห้องปรับอากาศ
   4. ถ่ายเทอากาศจากภายนอกห้องเข้าสู่ภายในห้องปรับอากาศ
    หน่วยวัดปริมาณความร้อนมีอยู่ 2 หน่วย
 1. บีทียู
 2.กิโลแคลอรี่

 1. บีทียู คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำบริสุทธิ์หนัก 1 ปอนด์ มีอุณหภูมิเปลื่องแปลง 1 อาศาฟาเรนไซต์ ( 1 F )
 1. กิโลแคลอรี่ คือ ปริมาณความร้อนที่ให้น้ำบริสุทธิ์หนัก 1 กิโลกรัม มีอุณหภูมิเปลื่ยนแปลง 1 อาศาเซลเซียส ( 1 C )

ความร้อนเป็นพลังงานอย่างหนึ่งสามารถจำแนกได้ 3 ชนิด
 1. ความร้อนรู้สึก คือความร้อนที่ทำให้สสารมีอุณหภูมิเพิมขึ้น
 2. ความร้อนจำเพราะ คือ ความร้อนที่ทำให้สสารหนัก 1 หน่วย ( 1 
กก. 1 ปอนด์ ) มีอุณหภูมิเปลื่อนแปลง 1 องศาเซลเซียส
 ปริมาณความร้อนที่ใช้ไปจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของสาร
เหล็ก 1 กก. ให้อุณหภูมิ  1 ํC ใช้ความร้อน 1200 BTU
น้ำ     1 กก. ให้อุณหภูมิ  1 ํC ใช้ความร้อน 1000 BTU
ไม้     1 กก. ให้อุณหภูมิ  1 ํC ใช้ความร้อน 2000 BTU

3. ความร้อนแฝง คือ ปริมาณความร้อนที่ใช่ในการเปลื่อนสถานะของสสาร
  3.1 ของแข็ง
  3.2 ของเหลว
  3.3 ก๊าซ
     เหล็ก       เป็นของเหลว    ใช้ความร้อนแฝง
     น้ำแข็ง    เป็นน้ำ                ใช้ความร้อนแฝง  
     น้ำ           เป็นไอ                ใช้ความร้อนแฝง  
ความร้อนสามารถเคลื่อนที่ได้ 3 วิธี
 1. การนำความร้อน คือการเคลื่อนที่ของความร้อนจากวัตถุด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ( แท่งเหล็กเผาไฟ )
 2. การพาความร้อน มีตัวกลางในการพาไป เช่นของเหลวและก๊าซ
 3. การแฝรังสี ความร้อนสามารถเคลื่อนที่ได้โดยไม่มีตัวกลาง คือ การแฝรังสีของดวงอาทิตย์

หน้าที่และการทำงานของอุปกรณ์หลัก
1. คอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นในระบบเครื่องทำความเย็น
2. คอมเดนเซอร์ ทำหน้าที่เปลื่ยนสถานะน้ำยาจากก๊าซให้เป็นของแหลว ด้วยการลดความร้อนแผงออก
3. วาล์วลดแรงดัน ทำหน้าที่ลดแรงดันน้ำยาจากแรง ดันสูงให้เป็นแรงดันต่ำ อีกทั้งยังควบคุมปริมาณของน้ำยาที่ไหลผ่านให้เหมาะสมกับขนาดเครื่อง
4. อีแวปปอเรเตอร์ ทำหน้าที่เปลื่ยนสถานะน้ำยาแเลวให้กลายเป็นก๊าซ ด้วยการดูดความร้อนแฝง จากภายในห้องปรับอากาศ ไปใช้ในการเปลื่ยนสถานะของน้ำยาเหลว
 คุณสมบัติน้ำยา
การเปลื่ยนน้ำยาจาก เหลวเป็นก๊าซ มีข้อดีสามารถเปลื่ยนสถานะได้ในอุณภูมิต่ำได้ (เดือดได้ที่อุณภูมิต่ำ)
    ความร้อนของคน    มีปริมาณ  600  BTU/ชม
    อุณหภูมิร่างกายของคน          37 ํC
    12,000    BTU/ชม = 1 ดัน  

พัดลม

 พัดลมเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่มีใช้งานมาก เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำมาในรูปของมอเตอร์ไฟฟ้า เมื่อยึดใบพัดติดบนแกนของมอเตอร์ สามารถพัดพาลมไปได้พัดลมมีหลายลักษณะ คือ
 1. พัดลมตั้งโต๊ะ มีขนาดใบพัด 12-16 นิ้ว
 2. พัดลมตั้งพื้น  มีขนาดใบพัด 16-36 นิ้ว (ขนาดใบพัดใหม่ๆ ใช้ในโรงงาน สถานประกอบการ ในงานของวัด)
 3. พัดลมติดผนัง มีขนาดใบพัด 16 นิ้ว
 4. พัดลมเพดาน มีขนาดใบพัด 36-56 นิ้ว
 5. พัดลมแอร์ไอน้ำ
 6. พัดลมแอร์ไอน้ำ
 ที่กล่าวมาเป็นพัดลมที่มีการเสีย และต้องซ่อมมาก และทุกบ้านมีใช้งาน
 ไฟ DC จะไหลผ่าน( ไม่ได้)
 ไฟ AC จะไหลผ่าน( ได้ )

หลักกานทำงานของพัดลม
  เมื่อเสียบปรั๊กไฟของพัดลมเข้ากับเต้าเสียบ แล้วกดสวิทช์พัดลมระดับความเร็ว ที่ 1 การไหลของไฟฟ้าเป็น ดังนี้
  1. ไฟฟ้า 200 V 50 Hz ไหลผ่านปลั๊กไฟอีกด้านหนึ่งไปที่ขา คอมมอน ( ขารวมของขดลวดรันกับขดลวดสตาร์ทของมอเตอร์ ) คือขา C
 2.  ไฟฟ้า  200 V 50 Hz  ไหลผ่านปลั๊กไฟอีกด้านหนึ่งไปที่ขั้วสวิทช์กดเพื่อเลืยกระดับของความเร็วมอเตอร์ เมื่อกดเสียบสวิทช์ที่หมายเลข 1  ไฟฟ่้าจะไหลเข้า ขดรัน R และไหลผ่านคอนเดนเซอร์เข้าขดลวดสตาร์ท S คอนเดนเซอร์ที่ต่ออยู่ที่ขดลวดสตาร์ทืทำหน้าที่ให้ใบพัดเริ่มหมุน  ( ให้แกนกลางของมอเตอร์ออกตัวตัวหมุน )
เมื่อใบพัดของพัดลมหมุน ไฟฟ้าจะไหลจากขดรันผ่านขดลวด มาครบรอบไฟฟ้ามี่ขั้วคอมมอน คือขา C  ทำให้มอเตอร์พัดลมหมุนต่อเนื่องตลอดเวลา เมื่อกดความเร็วที่ 2  และ 3 จะทำให้มอเตอร์หมุนเร็วขึ้น 
พัดแรงลมได้แรงขึ้น เนื่องจากไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดที่มีจำนวนรอบของขดลวดมาก จนกว่าจะ OFF สวิทช์ พัดลมจึงจะหยุดหมุน

 อาการเสียของพัดลมตั้งโต๊ะ  และ ติดผนัง
  1. อาการไม่หมุน เงียบ
      1.1 เช็คสายปลั๊กขาด โดยการตั้งมิเตอร์ R 1 วัดที่ขั้วปลั๊กไฟ AC แล้วกดสวิทช์พัดลม ถ้าเข็มมิเตอร์ไม่ขึ้น แสดงว่าสายปลั๊กอาจจะขาด เปิดฝาใต้พัดลม แล้ววัดเฉพาะสาย ขาดหรือไม่
      1.2 เช็คสวิทช์แตะหรอไม่
      1.3 ขดลวดพัดลม ไหม้ ขาด หรือไม่ สาเหตุขดลวดพัดลมไหม้ ขาดเกิดจากแกนหมุนฝืด บูทติดขัด
      1.4 พัดลมบางรุ่นมีรีซีสเตอร์ฟิวร์ อยู่ที่บริเวณขดลวดมอเตอร์ของพัดลม ถ้าขาด วัดขดลวดไม่ขึ้นให้ขึ้นให้สังเกตุดูว่ามีรีซีสเตอร์ฟิวร์ไม่ปกติ พัดลมมียี่ห้อ เช่น TOSHIBA SANYO PHILPS มักจะมีรีซีเตอร์ฟิวร์
    2. อาการหมุนช้า กดเลข 3 ก็หมุนช้า มีเสียงบูทฝืด
        2.1 เช็คแกนหมุนใบพัดฝืด ถอดออกมาหยอดน้ำมัน
        2.2 บูทสึก แกนสึก ทำให้หมุนช้า เวลาหมุนมีเสียงดัง ให้ถอดมาเปลื่อนบูทใหม่
    3. อาการกรหมุนปกติสักครู่ แล้วหมุนช้าลง
         3.1 เช็คแกนหมุน ฝืดหรือไม่ ถ้าฝืดทำความสะอาด
         3.2 เช็คบูทสึกหรือไม่ ถ้าสึกเปลื่อนใหม่
         3.3 ถ้าแกนหมุนปกติ บูทปกติ หมุนแกนคล่องดี สาเหตุหมุนช้าเกิดจาก ขดลวดชอร์ตรอบ ต้องพัดขดลวดใหม่
    4. อาการกดสวิทช์บางตัวไม่หมุน
        4.1 เกิดจากหน้าสัมผัสสวิทช์สกปรก ไม่แตะ
    5. อาการเปิดพัดลม ไม่หมุนมีเสียงคางแสดงว่าไฟเข้าขดลวดแล้ว
        5.1 แกนพัดลมติด ฝืด บูทสึก
        5.2 ขดลวดสตาร์ทไม่ทำงาน เกิดจาก C สตาร์ทขาด
    6. อาการมีเสียงผิดปกติ สั่น
        6.1 ใบพัดลมแตก คดงอ
        6.2 ผ่านคราบหลุด แตก ยืดไม่แน่น
    7. อาการพัดลมไม่ส่าย
        7.1 เฟียงถ่ายกำลังสึกหรอ บิ่ง
        7.2 แกนเฟืองหัก
    8. อาการคอพัดลมหัก
       8.1 พัดลมล้ม ตกหล่นจากที่สูง ให้ถอดเปลื่อนใหม่
หมายเหตุุ 1. การซื้ออะไหล่พัดลมที่ชิ้น จะต้องจดยี่ห้อ รุ่น พร้อมนำตัวอย่างไปซื้ออะไหล่ทุกครั้ง
                 2. มอเตอร์ไหม้ ชอร์ต พันใหม่ ตัวละ 80-100 บาท




หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

หลังการทำงานของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า 

 หลักการทำงานของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ประกอบด้วยโครงหม้อด้านนอก ซึ่งยึดแผ่นความร้อนติดไว้ด้านล่างของโครงหม้อ จุดกึ่งกลางของแผ่นความร้อนจะมีอุปกรณ์ทรงกลมสวนอยู่ตรงกลาง อุปกรณ์ชุดนี้เป็นอุปกรณ์เพื่อใช้สำหรับตัดวงจรไฟฟ้า และจะถูกกดทับด้วยหม้นในที่ใช้หุงข้าว หม้อหุงข้าวใช้หลักการง่ายๆ  และอธิบายให้เข้าใจได้ ดังนี้
 เมื่อนำข้าวสารมาเตรียมเพื่อหุง ล้างข้าวสาร และเติมน้ำในหม้อหุง แล้วนำ ไปตั้งในโครงหม้อ หม้อในจะถูกวางบนแผ่นความร้อน โดยส่วนโค้งของก้มหม้อจะวางแนบสนิทบนแผ่นความร้อน และวางทับลงบนอุปกรณ์ตัดวงจรไฟ ภายในอุปกรณ์ตัดไฟฟ้า จะใช้หลักการยึดเกราะหน้าสัมผัสสวิทช์ไฟฟ้า ด้วยแท่งแม่เหล็ก แผ่นเล็กๆ เมื่อกดสวิทช์ของหม้อหุงข้าว คันสวิทช์จะถูกโยงไปแกนกลางของชุดตัดไฟฟ้า โดยมีแผ่นแม่เหล็กยึดอยู่ตรงกลาง และมีแผ่นเหล็กบางยึดอยู่ด้านบน เมื่อสวิทช์ถูกกด ทำให้แผ่นเหล็กถูกดูดขึ้นไปติดกับแผ่นเหล็กบาง เมื่อแผ่นแม่เหล็กคิดกับแผ่นเหล็กแล้ว ทำให้สวิทช์แตะกัน ไฟฟ้าไหลผ่านเข้าขดแผ่นความร้อน ทำให้ความร้อนเพิ่มขึ้น ข้าวเริ่มสุก น้ำก็ค่อยๆ แห้งไปจนหมด ในขณะที่น้ำแห้งจะเกิดความร้อนเพิ่มขึ้ม ข้าวเริ่มสุก น้ำก็ค่อยๆ แห้งไปจนหมด ในขณะที่น้ำแห้ง จะเกิดความร้อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  เนื่องจากไม่มีน้ำใจการระบายความร้อนแล้วความร้อนที่เพิ่มขึ้น เรื่อยๆ ไม่มีที่แผ่ไป ก็จะแผ่ไปในชุดตัดวงรจไฟฟ้า ซึ้งมีแผ่นแม่เหล็กเล็กๆ ติดอยู่ แผ่นแม่เหล็ก เมื่อได้รับความร้อนก็จะหมดอำนาจชั่วคราว ทำให้สวิทช์ถูกดีดหล่นลง โดยมีสปริงอ่อนช่วยผลักให้หล่น ทำให้หน้าสัมผัสสวิทช์จากกัน ไฟไม่สามารถไหลเข้าแผ่นความร้อน จึงสิ้นสุดการหุงข้าว พร้อมกันนี้ข้าวก็สุกพอดี

  อาการเสียหม้อหุงข้าวไฟฟ้า
1. อาการหุงข้าวไม่ได้ หลอดไฟไม่ติด หม้อไม่ร้อน
   1.1 เช็คสายไฟขาด
   1.2 สวิทช์หน้าสัมผัสไม่แดะ หม้อไม่ร้อน
   1.3 แผ่นความร้อนขาด


เครื่องซักผ้าระบบกึ่งอัตโนมัติ

 เครื่องซักผ้า เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวก ใช้ในการซักผ้า ช่วยให้ซักเสื้อผ้าได้สะดวกและเสร็จรวดเร็ว ในปัจจุบัน เครื่องซักผ้ามีทั้งทั้งระบบซักผ้าธรรมดาไม่ซับซ้อน บางรุ่นเป็นระบบ อัตโนมัติ ซักผ้าได้เร็ว และสามารถนำผ้าออกมารีดได้เลย
หลักการทำงาน 
เครื่องซักผ้ามีส่วนของการทำงาน 2 ส่วน คือ 
 1. ส่วนของมอเตอร์ซักผ้า  ( MOTOR WASH )
     ไฟฟ้าจากปลั๊กไฟ ไหลไปรอที่ขั้วสวิทช์ 13 เมื่อบิดสวิทช์ TIMER WASH ไปทางทิศทางตามเข็มนาฬิกา ทำให้หน้าหน้าสัมผัสสวิทช์ 13 แตพกัน ไฟไหลผ่าน SELECTOR 1 ซึ่งสวิทช์ SELECTOR 1
ใช้เพื่อปรับเลือกว่างจะให้ซักผ่านทางเดียวหรือ 2 ทาง ( เลือกให้มอเตอร์หมุนทางเดียว หรือมอเตอร์หมุน 2ทาง ) ถ้าเลือกปรับไปทาง
L ไฟจะไหลไปที่ T2 (สวิทช์ TIMER WASH เป็นสวิทช์ที่ใช้ระบบการทำงานแบบตั้งเวลา จะมีกลไก และเฟือง เป็นตัวทดรอบหมุน ในขณะที่เฟืองหมุน ก็จะมีกลไฟ ไปดันหน้าผัมผัสของสวิทช์ T2 และT1 ให้หน้าสัมผัสสวิทช์แตะกัน ตามช่วงเวลาที่ได้ออกแบบไว้ ขึ้นอยู่กัยยี่ห้อ และรุ่น ซึ่งจะทำงานคล้ายๆ กัน แต่รูปแบบของตัว MOTOR WASH จะมีรูปร่างต่างๆ กัน ) ถ้้ากลไกของสวิทช์ MOTOR WASH ของ T2 สวิทช์แตะทาง L  ไฟจะไหลเข้าทางมอเตอร์ที่ขา 1 ซึ่งขณะนี้ขา 1 จะกลายเป็นขารัน R และมี คอมเดนเซอร์ ต่อคร่อมไปที่ขา 2 ซึ่งที่ขา 2 จะเป็นขาสตาร์ท S ทำให้มอเตอร์ออกตัวหมุน ไฟไหลผ่านขดลวดรันครบรอบที่คอมมอนด์ C ออกทางสายปลั๊กไฟครบรอบไฟ และมอเตอร์จะหมุนซ้ายหรือหมุนขวาขึ้นอยู่กับ
สวิทช์ MOTOR WASH  หน้าสัมผัสสวิทช์จะแตะทางด้านใดและทำงานต่อเนื่องกัน จนกว่าสวิทช์ MOTOR WASH  ที่ตั้งเวลาไว้จะ OFF ทำให้ไฟหยุดไหล มอเตอร์ถังซักหยุดการทำงาน
 2.   ส่วนของมอเตอร์ปั่นแห้ง
       หากต้องการปั่นแห้งผ้าที่ซักแล้ว เมื่อไส่ผ้าลงในถังปั่นแห้งแล้วปิดฝา สวิทช์ SW1  จะแตะไฟไหลผ่านมาที่สวิทช์ SW2 เป็นสวิทช์ตั้งปั่นแห้ง (TIMER SPIN) เมื่อบินสวิทช์ทางตามเข็มนาฬิกา หน้าสัมผัสสวิทช์จะแตะ ไฟไหลเข้าขดลวดรัน R และไฟผ่านคอมเดนเชอร์ เข้าขาสตาร์ท S ทำให้มอเตอร์ออกตัวหมุนไฟไหลผ่านขดลวดรันรอบที่ขาคอททอนด์ C ทำให้มอเตอร์หมุนปั่นผ้าให้แห้งมอเตอร์จะหยุดเมื่อสวิทช์ตั้งเวลาหมุนมาอยู่ที่ตำแหน่ง OFF หรือถ้าเปิดฝาถังปั่นแห้ง
ออกสวิทช์ SW1 ก็จากออก ทำให้ไฟหยุดไหลผ่าน MOTOR SPIN 
ผลก็คือมอเตอร์ หยุดหมุน หยุดการปั่นแห้ง

อาการเสียของเครื่องซักผ้า
( 1 ) อาการมอเตอร์ถังซักไม่หมุน ถังปั่นแห้งใช้ได้ปกติ
 1.1 เช็คสายไฟขาด หนูกัดสายขาด ต่อให้ตรงสีที่ขาด
 1.2 สวิทช์ TIMER WASH เสียปกติเสียจะไม่ได้ยินเสียงเฟืองและกลไก ทำงาน หน้าสัมผัสสวิทช์ไม่แตะ ไฟไม่สามารถไหลเข้าขดลวดมอเตอร์ซักผ้าได้ ถ้าเป็นสวิทช์ TIMER WASH  ตัวใส่ๆ จะมองเห็นกลไกการทำงานชัดเจน ถ้าเสียให้เปลื่อนตัวใหม่หรือสวิทช์ SELECTOR ที่เลือกระบบการซักที่จะให้หมุนทางเดียวหรือสองทาง ถ้า SELECTOR เสียซึ่งเป็นทางผ่านของไฟฟ้า ทำให้ไฟไม่สามารถผ่านหน้าสัมผัสของสวิทช์ได้ ทำให้มอเตอร์ไม่หมุน
 1.3 คอนเดนเซอร์สตาร์ท เสีย ทำให้มอเตอร์ไม่สามารถออดตัวหมุนได้เวลาเปิดเครื่องให้ทดลองใช้มือหมุนแกนมอเตอร์ ถ้ามอเตอร์หมุนต่อไปได้แสดงคอนเดนเซอร์ เสีย หรือถอดคอนเดนเซอร์ มาวัดก็ได้
 1.4 มอเตอร์ชอร์ต ไหม้ ให้ทอลองต่อมอเตอร์ตรงก็ได้ ถ้าต่อแล้วมอเตอร์ไม่หมุน แสดงว่ามอเตอร์ ให้ถอนตัวมดเตอร์ไปพันใหม่
( 2 ) อาการมอเตอร์ถังซัก หมุนช้า ไส่ผ้ามากไม่หมุน บางครั้งหมุนบ้างไม่หมุนบ้าง
  2.1 มอเตอร์ไม่มีกำลัง ทดลองเปิดเครื่อง ใช้มือจับแกนปั่นผ้า มอเตอร์ หยุดหมุน ลักษณะไม่มีกำลัง แสดงว่ามอเตอร์ชอร์รอบ ให้ถอดไปพันขดลวดใหม่
  2.2 บูทสึก ทดลองหมุนแกนปั่นผ้าดู ถ้ารู้สึกหมุนฝืดๆ แสดงว่าบูทสึกให้ถอดมอเตอร์ออกมาเปลื่อนบูทตัวใหม่ พร้อมหยอดน้ำมัน
 ( 3 ) อาการซักผ้ามีเสียงเสียดสี มีน้ำรั่วลงด้านล่างของถังซัก
  3.1 ซีลบูทกันน้ำสึก ต้องเปลื่อนซีลใหม่ โดยต้องถอดตัวมอเตอร์ออกด้วย  ถึงจะเปลื่อนซิลตัวใหม่ได้
 ( 4 ) อาการได้ยินเสียงมอเตอร์หมุน แต่แกนปั่นผ้าไม่หมุน
  4.1  สายพานขาด สายพานหลุม
  4.2  พูดเส่ใส่สายพานแตก หัก
 ( 5 )  อาการถังปั่นผ้าไม่หมุน ถังซักผ้าใช้ได้ปกติ
   5.1 สายไฟขาด หมูกัดสาย ต่อสายให้ถูกสี
   5.2 สวิทช์เซฟตี้ SW 1 สกปรก ขาด หัก ให้ทำความสะอาด
   5.3 สวิทช์ TIMER SPIN เสียกดไกเฟืยงไม่ทำงานไม่ได้ยินเสียง
เฟืยงและ กลไกต่างๆ ทำงาน ถ้าเป็นสวิทช์ตัวใส่ๆ จะมองเห็นกลไกและหน้าสัมผัสของสวิทช์ไม่แตะ แสดงว่าเสีย
   5.4 ดอนเดนเซอร์สตาร์ท  เสีย ทำให้มอเตอร์ออกตัวหมุนไม่ได้ ให้ถอดคอนเดนเซอร์ ออกมาวัด
   5.5 มอเตอร์ชอร์ตรอบ ไหม้ ทดลองต่อมอเตอร์ตรงดูถ้าไม่หมุน แสดงว่ามอเตอร์ตรอบ ไหม้
   5.6 มอเตอร์บูทติด จับถังหมุนไม่หมุนเลย ฝืดมากไม่ได้ใช้มานานเกิดสนิม สาเหตุมอเตอร์บูทฝืด เกิดจากซีลกันน้ำสึก หลาม ทำให้น้ำรั่วไส่ที่ตัวมอเตอร์ ทำให้ขดลวดชอร์ต ต้องพันมอเตอร์ใหม่
 (ุ 6 ) อาการเวลาปั่นแห้งมีเสียงบูทดัง
   6.1 ให้ถอดมอเตอร์มาเปลื่อนบูท
   6.2 ซีลบูทกันน้ำสึก ทำให้มีน้ำชึมลงมาโดนตัวมอเตอร์
   6.3 สายเบรกล๊อก หลุด ทำให้ไปเสียดสีแกน ทำให้เกิดเสียงดัง
  ( 7 ) อาการมอเตอร์ถังปั่นแห้ง หมุนช้า ไม่มีกำลัง
   7.1 มอเตอร์น้ำรั่วไส่ เกินสมีน
   7.2 บูทฝืดเนื่องจากโดนน้ำรั่วใส่
   7.3 มอเตอร์ชอร์ตรอบทำให้หมุนช้าไม่มีกำลัง
  ( 8 ) อาการถังซักน้ำรั่ว เก็บน้ำไม่อยู่
   8.1 ลูกยางมีเศษผงติดค้าง ถอดมาทำความสะอาด
   8.2 ลูกยางแข็งปิดน้ำไม่อยู่ ต้องเปลื่อนลูกยางใหม่
   8.3 ไม่มีกำลังกดลูกยาง เปลื่อนสปริงใหม่
  ( 9 )  อาการเครื่องซักผ้าสั่น
   9.1 ให้สังเกตดูว่า สั่นเกิดจากส่วนใดของเครื่อง
   9.2 สั่นเกิดจากมอเตอร์ไม่แน่น
   9.3 สั่นเกิดจากตัวถังยึดไม่แน่น
หมายเหตุ
 1. ถ้าจะซื้ออะไหล่เครื่องซักผ้า ต้องจดยี่ห้อ รุ่น พร้อมนำตัวอย่างอะไหล่ไปด้วยทุกครั้ง
 2. บูทมอเตอร์      ตัวละประมาณ      25   บาท
 3. สวิทช์ถังซัก                                 300 - 600
 4. สวิทช์ปั่นแห้ง                               300 - 600
 5. ลูกยางกันน้ำรั่ว                             80 - 100 
 6. พันมอเตอร์ใหม่                            250 - 350

วิทยุเทป

วิทยุเทปเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการใช้งาน 2 ส่วน คือ 1. ส่วนของเทปคลาสเซ็ท
              2. ส่วนของวิทยุ ซึ่งมีวิทยา AM และ  FM

การใช้งานของวิทยุเทป แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
  1. ส่วนของคลาสเซ็ท เมื่อใส่ม้วยเทปช่องของเทป แล้วกด PLAY และ แปลงเป็นสัญญาณจากม้วนเทป ซึ่งบันทึกไว้ในรูปขแงแม่เหล็กโดยผ่านหัวเทป และ แปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ผ่านวงจรปรีเทปทำหน้าที่ขยายสัญญาณ แล้วผ่านสวิทช์เลือกตำแหน่งของเทป สัญญาณจะถูกส่งเข้าวงจรปรีแอมป์ปรับเสียงทุ้มแหลม ให้ได้ตามต้องการ ก่อนส่งเข้าภาคขยายเสียง ขยายออกกำลังโพงเป็นเสียงเพลง
 2.  ส่วนของวิทยุ AM เมื่อปรับสวิทช์ S1 ไปที่ตำแหน่งวิทยุ AM สัญญาณวิทยุ AM จะถูกเลือกโดยการหนุนคลื่อหาสถานี้ ขยายสัญญาณส่งเข้าภาคปรีแอมป์ ปรับเสียงทุ้มแหลมตามต้องการ ก่อนส่งเข้าภาคขยายเสียง ขยายออกกำลังโพง
3. ส่วนของวิทยุ FM เมื่อปรับสวิทช์ S1 ไปที่ตำแหน่งวิทยุ FMสัญญาณวิทยุ FM จะถูกเลือกโดยหมุนคลื่อหาสถานี้ และขยายสัญญาณส่งเข้าภาคปรีแอมป์ ปรับเสียง ทุ้มแหลมตามต้องการ ก่อนส่งเข้าภาคขยายเสียง ขยายเสียงออกลำโพง

อาการเสียของวิทยุเทป 
 1. ทดลองเปิดเทป เทปเสียงยืด ยาม แต่เปิดวิทยุ AM FM ได้ปกติ แสดงว่าเสียในส่วนของเทปคลาสเซ็ท
 2. ทดลองเปิดเทป เทปเสียงปกติ แต่เปิดวิทยุ AM รับไม่ได้ เปิดวิทยุ FM รับฟังได้ปกติแสดงว่าเสียในส่วนของวิทยุ AM 
 3. ทดลองเปิดเทป เทปเสียงปกติ แต่เปิดวิทยุ FM รับไม่ได้ เปิดวิทยุ AM รับไท่ได้ปกติ แสดงว่าเสียในส่วนของวิทยุ FM 
 4. ทดลองเปิดเทป เปิดวิทยุ FM  AM เสียงเงียบ ไม่มีเสียงดังออกลำโพงแสดงว่าไฟไม่เข้าเครื่องภาคจ่ายไฟเสีย สายปลั๊กไฟ AC ขาด
 5. ทดลองเปิดเทป เปิดวิทยุ FM AM เสียงเงียบ ไม่มีเสียงดังออกลำโพง มีหลอกไฟแสดงการทำงานติดสว่าง แสดงว่าภาคขยายเสียงอาจจะเสีย










ไดร์เป่าผม เครื่องเป่าลมร้อน

ไดร์เป่าผม เป็นเครื่องไฟฟ้าที่ใช้เป่าาลมร้อน หรือลมเย็นเพื่อใช้ในการไดร์ทรงผมให้เรียบและสวยงาม.
.
.
.

หลักการทำงาน
ไดร์เป่าผมมีส่วนของการทำงาน 2 ส่วน คือ
1. ส่วนของมอเตอร์พัดลม เมื่อเสียบปลั๊กไฟAC 220 V 50 Hz
ผ่าน SW 1 เมื่อกดสวิทช์ SW 1 ON ไฟไหลผ่านขดลวดส่วนที่อยู่กับที่ L 1 ผ่านแปรงถ่าน Aไหลผ่านเข้าขดลวดส่วนที่เครื่องที่ L 2  ไหลผ่านแปรงถ่าน B ออกไปยังขั้ว 
ปลั๊กไฟ AC ครบวงจรทำให้เกิดการหมุนของแกนขดลวด ซึ่งติดใบพัดลม ทำให้เกิด การเป่าลมออกทางด้านหน้าของไดร์เป่าผม
2. ส่วนของขดลวดให้ความร้อน
เมื่อกดสวิทช์ SW2 ON ไฟไหลผ่านขดลวด L1 ขดลวดนิโครม พันขดอยู่บนฉนวนทนความร้อน เช่น แผ่นไมก้าแข็ง ไฟฟ้าไหลออกอีกทางหนึ่งเข้าสายปลั๊กครบรอบของไฟฟ้า ทำให้ขดลวดร้อนแดง และเกิดความร้อน ถูกลมจากการหมุนของมอเตอร์ พัดพานำความร้อนออกมาและใช้ในการเป่าไดร์เส้นผม
ข้อควรจำ
มอเตอร์ที่ใช้แปรงถ่าน จะเป็นมอเตอร์ที่ทีความเร็วรอบสูงมาก และถ้ามอเตอร์ใช้ขดลวดเส้นใหญ่ขดลวดเส้นใหญ่กินกระแสมาก แรงบิดสูงมาก เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้แปรงถ่าน เช่นเดียวกับไดร์เป่าผมและมอเตอร์เป็นลักษณะเดียวกัน คือ
1. เครื่องปั่นน้ำผลไม้
2. สว่านไฟฟ้า
3. สว่านกระแทก
4. กบไฟฟ้า
5. หินเจียรเหล็ก
6. เครื่องตัดเหล็ก
7. เครื่องดูดฝุ่น
8. เครื่องเป่าลม เป่าผง
9. เลื่อยวงเดืยนไฟฟ้า
10.มอเตอร์ในช่างที่ต้องใช้แรงบิดสูงๆ
อาการเสียของไดร์เป่าผม
1.   อาการไดร์ไม่ทำงาน ไม่หมุน เงียบ
      1.1  สายไฟขาด เกิดจากการใช้งานบ่อย ดึงไปดึงมาทำให้สายชอร์ตสายขาดบ่อย
      1.2  สวิทช์ SW 1 ขาด ทำให้ไฟไหม้ไม่ไหลผ่าน เข้าเครื่อง
2.   อาการไดร์หมุนไม่สะดวก หมุนบ้างไม่หมุนบ้าง มีเสียงบูทดังผิดปกติ
      2.1  แปรงถ่านหมด ต้องเปลื่อนใหม่ ใช้แปรงถ่านที่ดี มีคุณภาพจะทำให้มีความทนทาน
      2.2  บูทสึกต้องเปลื่อนบูทใหม่ หยอดน้ำมัน
      2.3   ขั้วสายที่แปรงถ่านกดบนขั้นที่แกนหมุน สกปรก ให้ทำความสะอาด
3.  .อาการร้อนแต่มอเตอร์พัดลมไม่หมุน
      3.1  สวิทช์พัดลมขาด สายไฟสวิทช์ขาด
      3.2  แปรงถ่านพัดลมหมด
      3.3  บูทฝึด ติดขัด
4.   อาการมอเตอร์พัดลมหมุนมีลมออก แต่ไม่ร้อน
      4.1  สวิทช์ขดลวด SW 2ขาด สายไฟสวิทช์ขาด
      4.2  ขดลวดนิโครม L4 ขาด ต้องเปลื่อน หรือต่อในส่วนที่ขาด
5.   อาการมอเตอร์หมุนแต่มีเสียงบูทดังและสั่น
      5.1  อาการนี้เกิดจากบูทสึก ขาดการหยอดน้ำหล่อลื่น ต้องเปลี่ยนบูทใหม่ 
ข้อแนะนำ  สำหรับไดร์เป่าผมใช้งานตามร้านเสริมสวย ร้านแต่งผม ร้านสอนเกีายวกับทำผม หากต้องการให้ไดร์มีความทนทาน ในการใช้งาน ไม่เสียง่ายต้องหยอดน้ำมันหล่อลื่นที่บูท 1เดือน-ครั้ง
 
ขับเคลื่อนโดย Blogger.