หลักการทำงานเครื่องปรับอากาศ
 การทำงานของเครื่องปรับอากาศ คล้ายๆกับตู้เย็นเพียงแต่มีพัดลมเพิ่มเข้ามา พัดลมคอยล์เย็นใช้พัดเอาความเย็นจากอีแอปปอเรเตอร์ กระจายไปทั่วห้อง พัก
การทำงานแบ่งเป็น 2 ส่วน
1. ส่วนของการทำงานระบบไฟฟ้า
เมื่อยกเบรกเกอร์สวิทช์ ON และปรับสวิทช์อุณหภูมิ ไปที่ระดับอุณหภูมิที่ 1 ( สวิทช์เทอร์โมสตาร์ท ON ) จะทำให้แม๊กเนติกรีเลย์ดูดหน้าสัมผัสของสวิทช์มาแตะกัน เพราะไฟฟ้าจากขา L  ไหลขึ้นไปยังชุดคอยล์เย็น ไหลผ่านหน้าสัมผัสของสวิทช์เทอร์โมสตาร์ท ไหลผ่านสวิทช์หน่วงเวลา ไหลเข้าขดลวดของแม๊กเนติกรีเลย์ และออกไปครบรอบที่ขา N เมื่อไฟฟ้าไหลครบรอบ ทำให้หน้าสัมผัสของเนติกรีเลย์ดูดติดกัน หากที่พัเลมคอยล์เย็นเปิดไว้ที่ระดับความเร็วใด ก็จะทำให้พัดลมคอยล์เย็นหมุนทันที่เช่นกัน                                       
เมื่อหน้าสัมผัสของแม็กเนติกรีเลย์สัมผัสกัน จะทำให้ไฟฟ้าเกิดการไหล ดังนี้
1. ไฟฟ้าจากสาย L ไหลผ่านหน้าสัมผัสของแม๊กเนติกรีเลย์ไปเข้าขารัน (R) ไหลผ่านขดลวดภายในคอมเพรสเซอร์ไปครบรอบไฟที่ขาคอมมอน ( C ) ไหลออกไปครบรอบที่สาย  N
2. ในขณะที่ไฟฟ้าไหลเข้าขารัน ( R ) ไฟฟ้าอีกทางหนึ่งจะไหลผ่านเข้าชาร์ทคอมเดนเซอร์ และดิสชาร์ทผ่านขดลวดสตาร์ท ครบรอบที่ขาคอมมอน ( C ) ทำให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ออกตัวหมุน
3. เมื่อคอมเพรสเซอร์ออกตัวหมุนและหมุนแล้ว ยังมีไฟไหลผ่านไปเข้าขารัน
( R ) ของมอเตอร์พัดลมคอยล์ร้อนและไฟสาย N ไหลอีกทางหนึ่งเข้าขาคอมมอน.                                                                    
( C ) ครบรอบไฟฟ้า  โดยมีคอนเคยเซอร์ต่อเข้าขาสตาร์ท ทำให้   มอเตอร์พัดลมคอยล์ร้อน ออกตัวหมุน ซึ่งพัดลมคอยล์ร้อนจะทำงานพร้อมกับคอมเพรสเซอร์เสมอเพื่อช่วยระบายความร้อน.   ให้กับคอนเดนเซอร์ื  เมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงานก็จะเกิดการอัดน้ำยา R 22.    
ออกทางท่อส่งอย่างต่อเนื่องต่อไป.                                             
2. ส่วนของการไหลของน้ำยาทำความเย็น
เมื่อคอมเพรสเซอร์หมุนอย่างต่อเนื่องจะเกิดการอัดน้ำยาออกทางท่อส่ง ผ่านไดเออร์ฟีสเตอร์ ทำหน้าที่กรองเศษผงและความชื้อ น้ำยาไหลผ่านคอนเดนเซอร์ ไหลผ่านท่อลวดแค๊ปทิ้ง ขณะที่น้ำยาที่ไหลมาถึง ท่อแค๊ปทิ้ว ซึ่งเป็นของเหลว เมื่อไหลผ่านท่อเล็กๆ จะกชลายเป็นก๊าซ ฉีดเข้าไปในอีแวปปอเรเตอร์ หรือขดท่อคอยล์เย็นก๊าซจะดักจับความร้อนที่อยู่รอบๆ ขดท่อคอยล์เย็น เมื่อจับความร้อนแล้ว จะไหลออกไปทางท่อดูดกลับ ความร้อนจะถูกพามากับน้ำยา ซึ่งขณะไหลกลับน้ำยาจากสถาพก๊าซ จะกลายเป็นของเหลว ไหลเข้าคอมเพรสเซอร์ และถูกอัดส่งออกไปอีก ทางท่อส่ง ถ้าน้ำยายังมีความร้อน จะถูกระบายความร้อนออกทางขดท่อคอยล์ร้อน โดยพัดลมดูดความร้อนจากแผงคอมล์ร้อน ช่วยระบายความร้อนได้ดีขึ้น
ทำให้ห้องปรับอากาศเย็น เพิ่งขึ้นเรื่อยๆ การอัดน้ำยาจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
   เมื่อความเย็น ภายในห้องปรับอากาศเย็นถึงจุดตัดของสวิทช์เทอร์โมสตาร์ทซึ่งมีหางเทสอุณหภูมิ ที่มีสักษณะคล้ายหางหนู หน้าสัมผัสสวิทช์เทอร์โมสตาร์ทจะจากออก ทำให้ไฟฟ้าหยุดไหลผ่านขดลวดแม๊กเนติกรีเลย์ ทำให้หน้าสัมผัสของสวิทช์แม๊กเนติกรีเลย์ จากออก ไฟหยุดไหลเข้าคอมเพรสเซอร์ คอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน น้ำยาไม่ถูกอัด ทำให้ความเย็นภายในห้องปรับอากาศ  มีอุณหภูมิสูงขึ้นหรือความเย็นน้อยลง ทำให้หน้าสัมผัสของสวิทช์เทอร์โมสตาร์ท มาแตะกันเหมือนเดิม เกิดการไหลของกระแส การทำงานจะเริ่มต้นใหม่โดยย้อนกลับไปอ่านข้อความเดิม. ( ย้อนกลับไปอ่าน ข้อ 1สวิทช์เทอร์สตาร์ท ON และ ข้อ 2 )
      
อาการเสียของเครื่องปรับอากาศ
1. อาการแอร์ไม่ทำงาน. ไฟไม่เข้า.   เงียบ.                              
  1.1 เช็คไฟฟ้ามีเข้าเบรกเดอร์สวิทช์หรือไม่
1.2 เบรกเกอร์สวิทช์ร์ ขาดหรือไม่          
 1.3 สายไฟหลุด หลวม                          
                       
2. อาการแอร์ไม่่เย็นพัดลมคอยล์เย็น หมุนปกตื มีแต่ลมออกมา                           2.1 เช็คแม็กเนติกรีเลย์ หน้าสัมผัส สกปรก มีเศษผงเกาะ มีมดเข้าขดลวดแม็กนีติดขาด สายไฟขาด หลุม
                  2.2 เทอร์โมสตาร์ทหน้าสัมผัสสวิทช์ขาด สกปรก สายไฟคอมโทรลขาด หรือถ้าเป็นรุ่นรีโมท ระบบคอนโทรลเสีย ชุดรีโมทเสียให้ทดลองต่อตรงเพื่อนทดสอบระบบ ว่าเสียงที่ใด
                  2.3 ชุดหน่วงเวลาขาด เสีย ให้ทดลองต่อตรงโดยไม่ผ่านตัหน่วงเวลา

3. อาการแอร์ไม่เย็น พัดลมคอยล์หมุนปกติ พัดลมคอยล์ร้อนหมุนปกติ
                  3.1 คาปาซิเตอร์สตาร์ทคอมเพรสเซอร์ขาด
                  3.2 สายไฟสายคอมเพรสเซอร์ขาด
                  3.3 ขดลวดคอมเพรสเซอร์าขาด
                  3.4 โอเวอร์โหลดขาด

4. อาการแอร์ไม่เย็น พัดลมคอยล์เย็นหมุนปกติ พัดลมคอยล์ร้อนหมุนปกติคอมเพรสเซอร์ทำงานปกติ ( จับคอมเพรสเซอร์ดูมีการสั่นปกติ)
                  4.1 น้ำยาในระบบไม่มี รั่วออกหมด
                  4.2 ถ้าน้ำยามีปกติ แสดงว่าลิ้นคอมเพรสเซอร์รั่ว เสีย ต้องซ่อมคอมเพรสเซอร์ใหม่ หรือเปลื่อนคอมเพรสเซอร์ใหม่

5. อาการแอร์เย็นน้อย
                   5.1 น้ำยาขาด ต้องเดิมน้ำยาเพิ่ม
                   5.2 ลิ้นคอมเพรสเซอร์ไม่ค่อยดี เริ่มจะรั่ว ทำให้แรงอัดน้ำยาน้อย ทำให้ทำความเย็นไม่ค่อยดีต้องซ่อมคอมเพรสเซอร์ใหม่ หรือเปลื่อนใหม่
                   5.3 ถ้าทุกอย่่างปกติ เกิดจากสกปรก ผงอุดตันให้ทำความสะอาดช่องคอยล์เย็น

6. อาการคอมเพรสเซอร์ทำงานได้สักครู่แล้วตัด พัดลมคอยล์เย็นหมุนปกติ
                   6.1 เช็คหน้าสัมผัสแม็กเนติกรีเลย์ปรก ไฟฟ้าเดินไม่สดวกให้ทำความสะอาดหน้าสัมผัส
                   6.2 คาปาซิเตอร์สตาร์ทรั่ว หรือชอร์ต
                   6.3 คอมเพรสเซอร์ชอร์ตรอบ หรือขดลวดไหม้ ให้ใช้คลิปแอมป์จับสายไฟแล้วเปิดเครื่องใหม่ขณะเปิดกินกระแสสูงมาก แสดงว่าคอมเพรสเซอร์ชอร์ตรอบหรือไหม้แล้ว ต้องซ่อมหรือเปลื่อนคอมเพรสเซอร์ใหม่

7. อาการมีเสียงดังที่พัดลมคอยล์ร้อน แอร์เย็นปกติ
                   7.1 บูทพัดลบคอยล์ร้อนสึก ต้องเปลื่อนบูทใหม่หรือเปลื่อนพัดลมคอยล์ร้อนใหม่

8. อาการมีเสียงดังที่พัดลมคอยล์ร้อนมาหลายวัน แอร์เย็นปกติ อยู่ๆ แอร์ก็ดับไปเฉยๆ เปิดใหม่ทำงานได้สักครู่ แต่พัดลมคอยล์ร้อนไม่หมุ่น
                   8.1 เกิดจากบูทพัดลมติด ฝืด ทำให้กินกระแสสูงคอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน แสดงว่าขดลวดพัดลมไหม้

9. อาการพัดลมคอยล์เย็นมีเสียงดัง แอร์เย็นปกติ
                   9.1 บูทพัดลมคอยล์เย็นสึก หลวม ต้องเปลี่ยนใหม่

10. อาการที่ช่องคอยล์เย็นมีน้ำแข็งเกาะเป็นไอ ไม่มีลมออกทางคอยล์เย็น
                  10.1 พัดลมคอยล์เย็นเสีย ไม่หมุน

11. อาการเย็นจัด คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดไม่ตัด
                  11.1 เทอร์โมสตาร์ทไม่ตัด ชอร์ตตลอดเวลา
                  12.2 ถ้าใช้ระบบรีโมท ระบบรีโมทเสีย หัวเทสความเย็นขาด ทำให้เทสความเย็นไม่ได้

12. อาการน้ำหยออออกจากคอยล์เย็น
                  12.1 ท่อทิ้งน้ำอุดตัน ให้ทำความสะอาด ทางท่อทิ้งน้ำมีผงเศษผงอุดตัน

13. อาการแอร์ไม่ทำงาน เป็นแอร์ระบบรีโมท
                  13.1 เช็ครีโมทถ่านไฟหมดให้เปลื่อนใหม่



















   
















                    



ขับเคลื่อนโดย Blogger.